วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้ทั้ง 2 ธุรกิจ
ฟูจิเล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน"
 ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
1.ศึกษาข้อมูลของประเทศที่ต้องการไปลงทุน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฮ่องกง ว่ามีลักษณะการดำรงชีวิตแบบไหน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และศาสนา อย่างเช่น มาเลเซียที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ก็ต้องดูว่าแต่ละประเทศนั้นๆนับถือศาสนาอะไรและทานอะไรได้และงดทานอะไรบ้าง
2.ร้านอาหารฟูจิ ใช้กลยุทธ์ทำการตลาด ในกลุ่มเป้าหมายวัยทำงานและครอบครัว ใช้ทั้งสื่อแมสมีเดีย ออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึงแต่อย่างไรก็ตาม ควรศึกษากลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างละเอียดว่า ลูกค้าต้องการอะไร  แบบไหน อย่างไร 
3.การที่ฟูจิจัดแคมเปญ ฟูจิ สมาร์ท ไลฟ์ พรีเวิลเลจเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับบัตรและสิทธิประโยชน์ต่างๆให้กับสมาชิก เช่น ส่วนลดพิเศษ ของสมนาคุณ การทำเวิร์กชอป เป็น
เรื่องที่ดึงดูดลูกค้าได้ดีแต่เกรงว่าเมื่อหมดPromotionแล้วลูกค้าจะไม่สนใจเข้าร้านจะรอจนมีPromotionมาอีกครั้งจึงจะเข้าใช้บริการ
เอ็มเคฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ" 
 ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
1.ศึกษาข้อมูลของประเทศที่ต้องการไปลงทุน ว่ามีลักษณะการดำรงชีวิตแบบไหน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และศาสนา 
2.การนำวัตถุดิบของประเทศที่ลงทุน เช่นของประเทศญี่ปุ่นที่ได้เปิดให้บริการแล้วกว่า16สาขา มาพัฒนาดัดเเปลงให้เข้ากับเมนูอาหารที่มี เพื่อเป็นการลดการนำเข้าสินค้าเเละวัตถุดิบจากประเทศเเม่เเละยังสามารถเเข่งขันทางด้านราคากับคู่เเข่งในประเทศนั้นๆ                                                                           
3.กิจกรรมอื่นๆซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงเทศกาล เช่น ช่วงปิดภาคการศึกษา หรือช่วงเทศกาลวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น ควรศึกษาช่วงเวลาหรือเทศกาลวัฒนธรรม ประเพณีของประเทศที่เข้าไปลงทุนอย่างละเอียดเพื่อสร้างดึงดูดและประทับใจให้กับลูกค้า



วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT ANALYSIS

ผลิตภัณฑ์นม
 


Strengths  
1. มีปัจจัยการผลิตที่สนับสนุนการเลี้ยงโคนม มีความหลากหลายของวัตถุดิบอาหารสัตว์ มีแรงงานเพียงพอ สายพันธุ์โคนมที่มีการพัฒนาจนมีความเหมาะสมกับประเทศ
2.มีเสถียรภาพด้านราคา มีผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับอาชีพการเกษตรอื่น
3.มีระบบการผลิตในอุตสาหกรรมนมที่มีความเจริญทัดเทียมกับต่างประเทศ
Weaknesses
1.ขาดองค์กรบริหารจัดการในอุตสาหกรรมนมทั้งระบบส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขายน้ำนมดิบได้บางช่วง
2.ขาดการวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้น้ำนมดิบสำหรับผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ เพราะน้ำนมดิบส่วนใหญ่นำมาผลิตเป็นนมพร้อมดื่ม
Opportunities
1.ความต้องการผลิตภัณฑ์นมและพันธุ์โคนมของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ดีในอนาคต
Threats
1.รัฐยังไม่สามารถตรวจสอบและควบคุมการใช้น้ำนมดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มตามที่แจ้งไว้ในฉลาก
2.การบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นมยังไม่ใช่วัฒนธรรมการบริโภคของคนเอเชีย
3.ประเทศไทยต้องเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศคู่ค้าเพื่อช่วงชิงตลาด ทำให้ต้องเปิดตลาดกับประเทศที่มีศักยภาพการเลี้ยงโคนมที่ดีกว่า
 

บทความการค้าระหว่างไทยกับมาเลเซีย


         การส่งออก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) ไทยส่งสินค้าออกไปมาเลเซียมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2,003.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2542 ไทยส่งสินค้าออกไปมาเลเซียมูลค่า 2,124.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในระยะ 3 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งสินค้าออกไปมาเลเซียแล้วมูลค่า 662.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เคมีภัณฑ์ เป็นต้น
        สินค้าส่งออก ได้แก่ ตลับลูกปืนเครื่องอิเลคทรอนิก รำและเศษจากธัญพืช ปลาหมึกแปรรูป เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ นมและผลิตภัณฑ์นม แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ธัญพืชอื่นๆ วงจรพิมพ์ เป็นต้น
 

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศมาเลเซีย


ภูมิหลังประเทศมาเลเซีย
    ประเทศมาเลเซียเกิดขึ้นจากความคิดของตุนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา โดยต้องการรวมสหพันธรัฐมาลายา, สิงคโปร์, ซาราวัค, บอร์เนียวเหนือ (ซาบะห์) และบรูไนเข้าด้วยกัน โดยสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1957 ดังนั้นจึงถือว่าวันชาติของประเทศมาเลเซียคือ วันที่ 31 สิงหาคม 1957 สำหรับแนวคิดการจัดตั้งประเทศมาเลเซียนี้ได้มีการประกาศเมื่อ 27 พฤษภคม 1961 แต่การเสนอจัดตั้งครั้งนี้ได้รับการต่อต้านและพบอุปสรรคหลายอย่างเช่น 1. เกิดการผจญหน้า (Confrontation) จากประเทศอินโดนีเซีย 2. การเรียกร้องสิทธิของฟิลิปปินส์เหนือรัฐซาบะห์ 3. ได้รับการต่อต้านจากพรรคประชาชนบรูไน (Parti Rakyat Brunei) 4. ได้รับการต่อต้านจากบางพรรคการเมืองในรัฐซาราวัค

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร
     การตลาดระหว่างประเทศ หมายถึง การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
     การค้าระหว่างประเทศ (International trade) หมายถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กันซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง                                                                                                         http://www.logisticafe.com/th/2010/06/international-trade/
ข้อแตกต่างระว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
   การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศมีข้อแตกต่างกัน คือการตลาดระหว่างประเทศเป็นการทำธุรกิจค้าขายเพื่อสร้างมูลค่าให้กับตัวสินค้าและบริการเพื่อส่งออกตลาดระหว่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายคือในการทำธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศและเพื่อหาตลาดใหม่ แย่งส่วนแบ่งการตลาดและต้องการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศแต่     การค้าระหว่างประเทศ เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศต่างๆกันซึ่งเกิดจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกันจึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การผลิต


คุณภาพของสินค้าหรือบริการเกิดจาก
 "วิธีการผลิต" หรือ "การปฏิบัติการ" เป็นสำคัญ


กลยุทธ์ในการผลิต (Production Strategy) หรือกลยุทธ์ในการปฏิบัติการ (Operation Strategy) จึงเป็น "หัวใจ" ของความอยู่รอดด้วย

ธุรกิจอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับ "เป้าหมาย QCD" เป็นอย่างมาก อันได้แก่


"การผลิตสินค้าหรือการให้บริการที่มีคุณภาพ (High Quality) ด้วยต้นทุนที่ต่ำ (Low Cost) และเป็นไปอย่างรวดเร็วฉับไว (High Speed หรือ Delivery)"พร้อมกับการยึดมั่นใน "การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า" (Customer Satisfaction) เป็นหลักชัย

ดังนั้น กลยุทธ์ในการบริหารการผลิตที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงต้องสอดคล้องและสามารถเสริม "จุดแข็ง" ของเราได้มากที่สุด และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย

แต่เรื่องของ "กลยุทธ์" จะเป็นเรื่องของ "การวางแผนระยะยาว" ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ มายมายในองค์กร การวางแผน กลยุทธ์หรือการกำหนดกลยุทธ์จึงต้องอาศัย "ข้อมูล" จากแหล่งต่างๆ มากมาย

เราจะต้องเกาะติดสถานการณ์และข่าวสารข้อมูลจากภายนอกองค์กร อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รู้ถึง "แนวโน้ม" หรือทิศทางของเศรษฐกิจ และมองเห็น "โอกาส" ใหม่ๆ สำหรับกิจการของเรา

และจะต้องตรวจสอบเพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการเสมอ เพื่อหาวิธีปรับเสริมจุดแข็งและตัดลดจุดอ่อน เพื่อการรับมือกับการแข่งขันในตลาด

การกำหนด "กลยุทธ์ของการผลิต ในปี ค.ศ. 2001" จึงต้องพิจารณาถึง "ปัจจัยสำคัญ" ต่างๆ ดังต่อไปนี้


ปัจจัยประการแรก ได้แก่ พันธมิตรทางธุรกิจ หรือความเป็นเจ้าของกิจการที่เกี่ยวเนื่อง
- เราสั่งซื้อวัตถุดิบจากใคร และผลิตสินค้าให้ใครบ้าง เรามีความสัมพันธ์ กับผู้ส่งมอบวัตถุดินที่ส่งมอบให้เราเป็นทอดๆ มากน้อยเพียงใด เรามีส่วนร่วม (หรือเป็นหุ้นส่วนเจ้าของ) ในบริษัทที่ส่งมอบวัตถุดิบหรือไม่ สายสัมพันธ์ของเรากับผู้ส่งมอบและลูกค้ายาวนานเพียงใดแล้ว เราสามารถควบคุมเวลาส่งมอบจากซัปพลายเออร์ได้หรือไม่ นโยบายการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบของเราเป็นอย่างไรเราจะผลิตเองหรือจะซื้อจากภายนอก สัญญาซื้อขายวัตถุดิบทำกันสั้นยาวอย่างไร หรือเปิดประมูลซื้อขายทุกครั้ง

 ปัจจัยประการที่สอง ได้แก่ ทำเลที่ตั้งอยู่รวมศูนย์หรือกระจัดกระจาย

- ที่ตั้งของโรงงานโกดัง และสำนักงานมีจำนวนมากน้อยเพียงใด อยู่รวมกันที่เดียวหรืออยู่แยกห่างจากกันไกลเพียงใด การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และวิธีการแบ่งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปลำบากหรือไม่ และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

ปัจจัยประการที่สาม ได้แก่ โครงสร้างขององค์กร


- ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานหรือฝ่ายต่างๆ ในองค์กรเป็นอย่างไร หน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายและระดับต่างๆ ชัดเจนหรือไม่ ลำดับขั้นการบังคับบัญชาหรือการควบคุมดูแลเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงใด การจัดทำแผนหรือตารางการผลิตมาจากส่วนกลาง (ระดับบน) เพียงอย่างเดียวหรือต่างคนต่างจัดทำแผนกันเอง มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมหรือไม่ วิธีการบริหารจัดการเป็นอย่างไร

ปัจจัยประการที่สี่ ได้แก่ การบริหารบุคลากร
- แนวทางในการบริหารและพัฒนาบุคลากรมีความชัดเจนและเป็นระบบ หรือไม่ (ตั้งแต่การพัฒนาทักษะความชำนาญการฝึกอบรมสัมนา หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานหลักประกันความมั่นคง นโยบายด้านสวัสดิการ หลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนหรือเงินเดือน มาตรการจูงใจเป็นกรณีพิเศษ เป็นต้น)

ปัจจัยประการที่ห้า ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ และกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรเป็นประเภทที่ใช้งานทั่วไปหรือใช้งานเฉพาะเจาะจง เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย กำลังการผลิตของเราเพียงพอและมีประสิทธิภาพสูง หรือไม่ เราสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยมือเป็นระบบอัตโนมัติได้ยากง่ายเพียงใดบ้าง

ปัจจัยประการที่หก ได้แก่ ระบบข้อมูลข่าวสาร
- ข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นในการบริหารจัดการด้านการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมีอะไรบ้าง (เช่น การติดตามงานในระหว่างการผลิต การจัดซื้อจัดจ้าง จำนวนวัตถุดิบหรือ สินค้าคงคลัง คุณภาพ บุคลากร เป็นต้น) เรามีวิธีการได้มาหรือจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัยได้อย่างไร การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การกระจายหรือแจกจ่ายข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพเพียงใด

ปัจจัยประการที่เจ็ด ได้แก่ การควบคุมคุณภาพและการปรับปรุงให้ดีขึ้น
- วิธีการควบคุมคุณภาพสินค้าหรือการให้บริการทำกันอย่างไรในปัจจุบัน ใช้วิธีการควบคุมที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิดคุณภาพ) หรือใช้วิธีตรวจสอบที่ปลายทาง หรือตรวจสอบระหว่างที่มีการผลิตเลย เรามีนโยบายการบริหารจัดการคุณภาพที่ชัดเจนหรือไม่ วิธีที่ทำกันอยู่นั้นเน้นการป้องกันหรือการแก้ไข เรามีมาตรการในการจูงใจ ให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่อย่างไรบ้าง

ปัจจัยประการที่แปด ได้แก่ จุดแข็งขององค์กร


- เรามีจุดแข็งที่ได้เปรียบคู่แข่งอะไรบ้าง จุดแข็งนั้นเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกค้าหรือไม่ (เช่นคุณภาพ) จุดแข็งที่มีอยู่จะนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศระดับสากลได้มากน้อยเพียงใด เรามีวิธีการพัฒนาหรือเสริมเพิ่มจุดแข็งอย่างไรบ้าง
 ปัจจัยทั้ง 8 ประการข้างต้นนี้ ถือเป็นปัจจัยที่เราจะต้องนำมา พิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อจะได้วิเคราะห์ถึง[b]จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อันตราย" (SWOT Analysis)[/b]ด้านการผลิตขององค์กรเราได้อย่างถูกต้องชัดเจน เพื่อจะได้กำหนด "กลยุทธ์การผลิตในปี 2001" ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ และการกำหนดกลยุทธ์การผลิตจะยากง่ายหรือซับซ้อนเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดองค์กรเป็นสำคัญ ในเรื่องของการกำหนด "กลยุทธ์การผลิต" นี้จะช่วยทำให้เราสามารถสร้างจุดแข็งหรือความได้เปรียบเหนือคู่แข่งได้ ดังนั้น เราควรจะอาศัยกลยุทธ์ขององค์กรอื่นๆ เป็นพื้นฐานหรือแนวคิดเท่านั้น เราไม่ควรจะคัดลอกหรือนำมาประกาศใช้โดยไม่ผ่านการวิเคราะห์แบบ SWOT Analysis และปัจจัยต่างๆ ข้างต้นเสียก่อน

เรื่องนี้เราจะต้องยึดหลักการที่ว่า "กิจการต่างกัน กลยุทธ์ต้องต่างกัน"

 ที่มา www.chiangkong.com:8080/chiangkong/readArticle.do?id...


VDO